ทิวานากู
![]() |
วิหารคาลาซาซายา ภาพ : wikipedia |
ทิวานากู (Tiwanaku) อยู่ที่เมืองเทียฮัวนาโค ใกล้กับทะเลสาบติติคาคา ประเทศโบลิเวีย สร้างขึ้นเมื่อ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล เมืองเเห่งอารยธรรมอินคา (Inca Empire) โบราณสถานที่โดดเด่นคือ วิหารคาลาซาซายา (Kalasasaya), ประตูเเห่งดวงอาทิย์ (Gateway of the Sun), โมนาอีโต้ พอนซ์ (Monolito Ponce) เเละมีรูปสลักขนาดยักษ์หน้าตาคล้ายคลึงกับรูปสลักโมอายเเห่งเกาะอีสเตอร์ (Easter Island)
![]() |
ประตูเเห่งดวงอาทิตย์ ภาพ : wikipedia |
ค.ศ. 1860 เอฟราอิ จอร์จ สไควเออร์ (Ephraim George Squier) นักโบราณคดีชาวอเมริกัน ผู้ค้นพบทิวานากู เขาค้นพบซากปรักหักพังก่อนที่จะได้รับการบูรณะภายหลัง เขาได้เผยแพร่แผนที่ และภาพสเก็ตช์ทิวานากูไปทั่วโลก
ค.ศ. 1876 Alphons Stübel นักธรณีวิทยาเยอรมัน ใช้เวลา 9 วัน เพื่อสร้างแผนที่ทิวานากู เเละสำรวจทิวานากูอย่างรอบคอบ
ค.ศ. 1892 B. von Grumbkow วิศวกร, Friedrich Max Uhle นักโบราณคดี หาคำอธิบายสถานที่ทิวานากูเป็นครั้งแรกในเชิงลึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ซึ่งเขาตีพิมพ์หนังสือที่มีเอกสารภาพถ่ายที่สำคัญของทิวานากู
ค.ศ. 1960 รัฐบาลโบลิเวียเริ่มมีความพยายามที่จะฟื้นฟูบูรณะสิ่งปลูกสร้างทิวานากู
ค.ศ. 1978-1990 นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก ช่วยกันศึกษาอิทธิพลของอารยธรรมอินคา และหาหลักฐานการล่มสลายของทิวานากู
พูมาพันกู ภาพ : wikipedia |
ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 15 กิโลเมตร จากทิวานากู คือ พูมาพันกู (Pumapunku) ซากหินปรักหักพังบนเทือกเขาแอนดี ประเทศโบลิเวีย สร้างขึ้นเมื่อ 536-600 ปีก่อนคริสตกาล พูมาพันกูเป็นส่วนหนึ่งของทิวานากู พูมาพันกูเป็นของอารยธรรมอินคา สร้างขึ้นในรัชสมัยกษัตริย์ไอมารา (Aymara) พูมาพันกูอยู่บนภูเขาสูง ไม่มีต้นไม้ มีเเต่ต้นหญ้า ใช้อะไรในการยกหิน หินที่นี่คือหินแกรนิต (Granite) เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์ยุคนั้นจะสามารถตัดหินแกรนิตได้ เนื่องจากปลายของเครื่องมือต้องติดหัวเพชรถึงตัดหินแกรนิตได้
แผงกั้นถนนโบราณ ภาพ : wikipedia |
พูมาพันกูเป็นแนวกำแพงหินในลักษณะเป็นบล็อกเรียบเนียนวางต่อเนื่องกัน โดยมีความกว้างถึง 167.36 เมตร ยาว 116.7 เมตร แผ่นหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาว 7.81 กว้าง 5.17 มีความหนาเฉลี่ย 1.07 เมตร โดยมีน้ำหนักถึง 131 ตัน นักโบราณคดีศึกษาพูมาพันกูยังหาคำอธิบายไม่ได้ หินก้อนมหึมาถูกขนย้ายขึ้นไปบนภูเขาสูงได้อย่างไร มนุษย์ยุคนั้นใช้วิธีอะไรในการขนย้ายหินที่มีนํ้าหนักเฉลี่ยหลายสิบตัน ทั้งที่อารยธรรมอินคาไม่เคยประดิษฐ์อุปกรณ์ทุ่นแรงอย่างล้อเลื่อนมาก่อน
หินแกะสลักที่เป็นรูปตัว H ภาพ : wikipedia |
หินแกะสลักรูปตัว H หินมีวิธีการก่อสร้างอย่างไร ให้มีความเรียบเนียนได้ขนาดนี้ ดูราวกับการใช้เลเซอร์ตัด โดยเฉพาะเหลี่ยมมุมต่างๆ ที่ค่อนข้างเข้ากันได้พอดิบพอดี ราวกับใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการคำนวน คงต้องใช้เทคโนโลยีเลเซอร์เท่านั้นถึงจะตัดหินได้เนี้ยบ และสัดส่วนเที่ยงตรงได้ขนาดนี้ บนก้อนหินยังมีการแกะสลักให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต สร้างความแปลกใจให้กับนักโบราณคดีเป็นอย่างมาก เพราะเทคโนโลยีในสมัยนั้นไม่น่าทำได้เช่นนี้ อีกทั้ง ยังมีการเจาะรูโดยที่หินไม่แตกร้าวเลย
![]() |
หินสลักรูปทรงเรขาคณิตศาสตร์ ภาพ : wikipedia |